วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

E.coli

E. coli สายพันธุ์ใหม่ในยุโรป

          การระบาดของ Escherichia coli O104:H4 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในบัดนี้นั้น เริ่มมาแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในประเทศเยอรมนี โดย Escherichia coli หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า E. coli นั้น เป็นแบคทีเรียชนิดหลักชนิดหนึ่งซึ่งก่อสารพิษแก่อาหาร  การระบาดเริ่มมีขึ้นหลังชาวเยอรมันจำนวนหนึ่งติดเชื้อแบคทีเรียนี้และนำไปสู่กลุ่มอาการยูเรเมียเหตุเลือดสลาย (hemolytic-uremic syndrome) อันเป็นภาวะฉุกเฉินทางแพทย์ที่จำต้องให้การบำบัดเยียวยาโดยรีบด่วน เบื้องต้น เจ้าพนักงานในเยอรมันชี้ว่า ต้นตอคือแตงกวาที่ปนเปื้อนซึ่งมาจากประเทศสเปน
          ทว่า ต่อมาเยอรมนีพบว่า แตงกวาจากสเปนหาใช่ต้นเหตุแห่งการระบาดไม่ยังให้สเปนเกรี้ยวกราดเป็นอันมากในเรื่องที่เยอรมนีเชื่อมโยงแตงกวาสเปนกับการระบาดโดยปราศจากการตรวจสอบ นอกจากการระบาดในเยอรมนีแล้ว นับแต่วันที่ 2 มิถุนายนสืบมา มีรายการว่าพบผู้ติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวอย่างน้อยสองพันคน ในจำนวนนี้ ถึงแก่ความตายแล้วสิบแปดคน  โดยประเทศที่ปรากฏผู้ติดเชื้่อนั้น รวมถึง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ประเทศโปแลนด์, ประเทศเนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักรและ สหรัฐอเมริกาที่สำคัญ ผู้ติดเชื้อทั้งมวลไปเยอรมนีมาก่อนจะป่วย
การระบาดจากรายงานเมื่อวันที่ 2 มิย มีคนเสียชีวิตไปแล้ว 11 ราย และสรุปเหตุการณ์ได้ดังนี้
  • ใน เยอรมันมีผู้ป่วย 520 ราย ที่มีอาการ,usa สงสัยติดเชื้อ 4 ราย ทั้ง 4 เดินทางไป ฮัมบูร์ก เยอรมันมาก่อน
  • เชื้อสายพันธ์นี้ ชื่อเต็มๆคือ Shiga toxin-producing Escherichia coli O104:H4 ติดเชื้อจากการรับประทาน ยังไม่ชัดว่าอาหารใด
  • แนะนำเรื่องอาหารสำหรับคนจะที่ไปเยอรมัน แนะนำว่าให้เลี่ยงทานมะเขือเทศ แตงกวา และผักสดอาการของการติดเชือ E.Coli O104 เบื้องต้น คือ มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายออกมาปนเลือดผู้ป่วย เชือ E.Coli O104 ส่วนใหญ่ อาการจะดีขึ้นใน 5-7 วัน แต่จะมีกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะแทรกซ้อน ร้ายแรง ทำให้ไตวาย (HUS)
  • เชือ E.Coli O104 HUS : Hemolytic uremic syndrome เป็นไตวายชนิดหนึ่ง toxin ทำให้มีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง จนไตวาย
  • เชือ E.Coli O104 ภาวะแทรกซ้อนนี้HUS จะเกิดขึ้น 7 วัน หลังจากเริ่มท้องเสีย อาการคือ ปัสสาวะออกน้อยลง ซีด มีจ้ำตามตัว
  • เชือ E.Coli O104 ถ้าเป็น HUS ต้องฟอกไต ให้เลือด แต่ถ้ารุนแรงก็เสียชีวิตได้
  • การป้องกัน เพียงแค่ทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ล้างมือบ่อย ๆ เลี่ยงการทานผักดิบ มะเขือเทศ แตงกวา
  • ประเทศที่พบโรคนี้ รายงานโดย WHO 2/6/11 มีอีก9 ประเทศ ออสเตรีย เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ นอรเว สวีเดน สเปน อังกฤษ สวิส

การป้องกันและทำลายเชื้อ
        เชื้อนี้สามารถป้องกันได้รับประทานอาหารทำสุก สะอาด การทำให้สุกโดยอุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียสนานกว่า 5 นาที แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้ออ่อน ก็ฆ่าได้ หมั่นล้างมือให้สะอาด และเมื่อสัมผัสผู้ที่ท้องเสีย อย่าลืมล้างมือให้สะอาด
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำ
   โรคเหล่านี้ไม่ใช่อันตรายที่น่ากลัว สำหรับคนที่สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง  แต่อาจจะเป็นภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยโรคอื่น เช่น ภูมิแพ้ ,เบาหวาน ,คนสูงอายุ,เด็ก   เนื่องจาดเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันสามารถต้านทานต่อ ยาปฏิชีวนะได้ดีี  ทำให้การใช้ยาไม่ค่อยได้ผล วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกัน
   สมุนไพรที่ใช้ป้องกันได้ดีคือน้ำผึ้ง รับประทานก่อนและหลังอาหาร ครั้งละ 1 ช้อนชา  สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
   หากต้องการฆ่าเชื้อ ใช้ดอกกานพลู 4-5 ดอกชงน้ำร้อนดื่ม  หรือน้ำมันกานพลู สัก 2-3 หยดใส่ในน้ำดื่ม หลังรับประทานอาหารหากไม่มั่นใจในความสะอาด 

เอกสารอ้างอิง

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคติดต่อทางพันธุ์กรรม

          โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ 
            โดยจะเกิดสองที่คือ บนโครโมโซมร่างกาย และ บนโครโมโซมเพศ
           โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ที่มี 22 คู่ หรือ 44 แท่ง สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และมีโอกาสเกิดได้เท่า ๆ กัน โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดปกติที่จำนวนออโตโซม และความผิดที่รูปร่างโครโมโซม ประกอบด้วย

             1.ความผิดปกติของจำนวนออโตโซม

          เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง ได้แก่

         กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down's syndrome) 

          เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง คือ มี 3 แท่ง จากปกติที่มี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 นอกจากนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการย้ายที่ของโครโมโซม เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น และยังมีสาเหตุมาจาก มีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่ง ในคน ๆ เดียว เรียกว่า MOSAIC ซึ่งพบได้น้อยมาก
          
          ลักษณะของเด็กดาวน์ซินโดรม จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวเตี้ย มือสั้น อาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และเป็นปัญญาอ่อน พบบ่อยในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

        กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดซินโดรม ( Edward's syndrome)

          เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้เป็นปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ คางเว้า นิ้วมือบิดงอ และกำแน่นเข้าหากัน ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ หัวใจพิการแต่กำเนิด ทารกมักเป็นเพศหญิง และมักเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ขวบ
                                               
        กลุ่มอาการพาทัวซินโดม ( Patau syndrome)
           อาการนี้เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้เด็กมีอาการปัญญาอ่อน อวัยวะภายในพิการ และมักเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด หรือหากมีชีวิตรอดก็จะมีอายุสั้นมาก
                          
          2. ความผิดปกติของรูปร่างออโตโซม 

          เป็นความผิดปกติที่ออโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน แต่มีจำนวนโครโมโซม 46 แท่ง เท่ากับคนปกติ ประกอบด้วย

        กลุ่มอาการคริดูชาต์ หรือ แคทครายซินโดรม (cri-du-chat or cat cry syndrome) 

          เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไปบางส่วน ทำให้ผู้ป่วยมีศีรษะเล็กกว่าปกติ เกิดภาวะปัญญาอ่อน หน้ากลม ใบหูต่ำ ตาห่าง หางตาชี้ นิ้วมือสั้น เจริญเติบโตได้ช้า เวลาร้องจะมีเสียงเหมือนแมว จึงเป็นที่มาของชื่อโรคนี้ว่า แคทครายซินโดรม (cat cry syndrome)
         
         กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome)
          เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 ทำให้ผู้ป่วยมีรูปร่างอ้วนมาก มือเท้าเล็ก กินจุ มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น พูดช้า รวมทั้งเป็นออทิสติกด้วย