วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

การเคหพยาบาล

การเคหพยาบาล หมายถึง การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อมี การเจ็บป่วยหรือในระยะฟักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน


ประโยชน์ของการเคหพยาบาล

1. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านหลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับมาฟักฟื้นที่บ้านได้ ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
2. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและของทุกคนในครอบครัว และลดความวิตกกังวลทางสภาพจิตใจเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยได้เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด
3. ลดอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นและสามารถปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้
4. ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่รอคอยการรักษาให้มีจำนวนน้อยลง


การสังเกตอาการผู้ป่วยโดยทั่วไป

ผู้ที่พยาบาลผู้ป่วยในบ้านควรสนใจสุขภาพของทุกคนในครอบครัวฃองตน และเข้าใจอาการเปลี่ยนแปลงที่แสดงว่ามีการเจ็บป่วยขึ้น อาการที่เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ดังนั้น ผู้ที่พยาบาลจะต้องระ จักสังเกตอาการของผู้ป่วยและสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ความผิดปกติที่จะสังเกตได้ มีดังนี้
1. ใบหน้า อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้


1.1 ใบหน้ามีลักษณะแดง ซีด ขาว 1.2 ตามีลักษณะแดง เหลือง น้ำตาไหล ซึม มัว ใสผิดปกติ มีอาการระคายเคืองต่อแสงสว่าง
1.3 จมูกมีน้ำมูกไหล เลือดออก เป็นแผล เจ็บ หายใจไม่ออก
1.4 หูมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหล ปวด บวม แดง
1.5 ปากแห้ง แตก ลิ้นเป็นฝ้า ไอเจ็บคอ ภายใต้คอแดงหรือเป็นฝ้า

2. หน้าอกมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจขัด แรงเร็ว บางรายอาจถึงชัก หรือมีอาการปวดเจ็บภายในบริเวณอก
3. ท้อง มีอาการท้องขึ้น อืด เฟ้อ ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร
4. กล้ามเนื้อ มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ
5. ผิวหนัง มีอาการบวม แดง ซีด มีเม็ดหรือผื่นขึ้น ผิวหนังอาจร้อนหรือเย็นกว่าปกติ เมื่อเอามือไปสัมผัส
6. อารมณ์ มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หากเป็นเด็กจะร้องกวนบ่อย

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

E.coli

E. coli สายพันธุ์ใหม่ในยุโรป

          การระบาดของ Escherichia coli O104:H4 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในบัดนี้นั้น เริ่มมาแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในประเทศเยอรมนี โดย Escherichia coli หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า E. coli นั้น เป็นแบคทีเรียชนิดหลักชนิดหนึ่งซึ่งก่อสารพิษแก่อาหาร  การระบาดเริ่มมีขึ้นหลังชาวเยอรมันจำนวนหนึ่งติดเชื้อแบคทีเรียนี้และนำไปสู่กลุ่มอาการยูเรเมียเหตุเลือดสลาย (hemolytic-uremic syndrome) อันเป็นภาวะฉุกเฉินทางแพทย์ที่จำต้องให้การบำบัดเยียวยาโดยรีบด่วน เบื้องต้น เจ้าพนักงานในเยอรมันชี้ว่า ต้นตอคือแตงกวาที่ปนเปื้อนซึ่งมาจากประเทศสเปน
          ทว่า ต่อมาเยอรมนีพบว่า แตงกวาจากสเปนหาใช่ต้นเหตุแห่งการระบาดไม่ยังให้สเปนเกรี้ยวกราดเป็นอันมากในเรื่องที่เยอรมนีเชื่อมโยงแตงกวาสเปนกับการระบาดโดยปราศจากการตรวจสอบ นอกจากการระบาดในเยอรมนีแล้ว นับแต่วันที่ 2 มิถุนายนสืบมา มีรายการว่าพบผู้ติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวอย่างน้อยสองพันคน ในจำนวนนี้ ถึงแก่ความตายแล้วสิบแปดคน  โดยประเทศที่ปรากฏผู้ติดเชื้่อนั้น รวมถึง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ประเทศโปแลนด์, ประเทศเนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักรและ สหรัฐอเมริกาที่สำคัญ ผู้ติดเชื้อทั้งมวลไปเยอรมนีมาก่อนจะป่วย
การระบาดจากรายงานเมื่อวันที่ 2 มิย มีคนเสียชีวิตไปแล้ว 11 ราย และสรุปเหตุการณ์ได้ดังนี้
  • ใน เยอรมันมีผู้ป่วย 520 ราย ที่มีอาการ,usa สงสัยติดเชื้อ 4 ราย ทั้ง 4 เดินทางไป ฮัมบูร์ก เยอรมันมาก่อน
  • เชื้อสายพันธ์นี้ ชื่อเต็มๆคือ Shiga toxin-producing Escherichia coli O104:H4 ติดเชื้อจากการรับประทาน ยังไม่ชัดว่าอาหารใด
  • แนะนำเรื่องอาหารสำหรับคนจะที่ไปเยอรมัน แนะนำว่าให้เลี่ยงทานมะเขือเทศ แตงกวา และผักสดอาการของการติดเชือ E.Coli O104 เบื้องต้น คือ มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายออกมาปนเลือดผู้ป่วย เชือ E.Coli O104 ส่วนใหญ่ อาการจะดีขึ้นใน 5-7 วัน แต่จะมีกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะแทรกซ้อน ร้ายแรง ทำให้ไตวาย (HUS)
  • เชือ E.Coli O104 HUS : Hemolytic uremic syndrome เป็นไตวายชนิดหนึ่ง toxin ทำให้มีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง จนไตวาย
  • เชือ E.Coli O104 ภาวะแทรกซ้อนนี้HUS จะเกิดขึ้น 7 วัน หลังจากเริ่มท้องเสีย อาการคือ ปัสสาวะออกน้อยลง ซีด มีจ้ำตามตัว
  • เชือ E.Coli O104 ถ้าเป็น HUS ต้องฟอกไต ให้เลือด แต่ถ้ารุนแรงก็เสียชีวิตได้
  • การป้องกัน เพียงแค่ทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ล้างมือบ่อย ๆ เลี่ยงการทานผักดิบ มะเขือเทศ แตงกวา
  • ประเทศที่พบโรคนี้ รายงานโดย WHO 2/6/11 มีอีก9 ประเทศ ออสเตรีย เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ นอรเว สวีเดน สเปน อังกฤษ สวิส

การป้องกันและทำลายเชื้อ
        เชื้อนี้สามารถป้องกันได้รับประทานอาหารทำสุก สะอาด การทำให้สุกโดยอุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียสนานกว่า 5 นาที แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้ออ่อน ก็ฆ่าได้ หมั่นล้างมือให้สะอาด และเมื่อสัมผัสผู้ที่ท้องเสีย อย่าลืมล้างมือให้สะอาด
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำ
   โรคเหล่านี้ไม่ใช่อันตรายที่น่ากลัว สำหรับคนที่สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง  แต่อาจจะเป็นภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยโรคอื่น เช่น ภูมิแพ้ ,เบาหวาน ,คนสูงอายุ,เด็ก   เนื่องจาดเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันสามารถต้านทานต่อ ยาปฏิชีวนะได้ดีี  ทำให้การใช้ยาไม่ค่อยได้ผล วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกัน
   สมุนไพรที่ใช้ป้องกันได้ดีคือน้ำผึ้ง รับประทานก่อนและหลังอาหาร ครั้งละ 1 ช้อนชา  สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
   หากต้องการฆ่าเชื้อ ใช้ดอกกานพลู 4-5 ดอกชงน้ำร้อนดื่ม  หรือน้ำมันกานพลู สัก 2-3 หยดใส่ในน้ำดื่ม หลังรับประทานอาหารหากไม่มั่นใจในความสะอาด 

เอกสารอ้างอิง

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคติดต่อทางพันธุ์กรรม

          โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ 
            โดยจะเกิดสองที่คือ บนโครโมโซมร่างกาย และ บนโครโมโซมเพศ
           โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ที่มี 22 คู่ หรือ 44 แท่ง สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และมีโอกาสเกิดได้เท่า ๆ กัน โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดปกติที่จำนวนออโตโซม และความผิดที่รูปร่างโครโมโซม ประกอบด้วย

             1.ความผิดปกติของจำนวนออโตโซม

          เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง ได้แก่

         กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down's syndrome) 

          เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง คือ มี 3 แท่ง จากปกติที่มี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า TRISOMY 21 นอกจากนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการย้ายที่ของโครโมโซม เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น และยังมีสาเหตุมาจาก มีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่ง ในคน ๆ เดียว เรียกว่า MOSAIC ซึ่งพบได้น้อยมาก
          
          ลักษณะของเด็กดาวน์ซินโดรม จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวเตี้ย มือสั้น อาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และเป็นปัญญาอ่อน พบบ่อยในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

        กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดซินโดรม ( Edward's syndrome)

          เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้เป็นปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ คางเว้า นิ้วมือบิดงอ และกำแน่นเข้าหากัน ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ หัวใจพิการแต่กำเนิด ทารกมักเป็นเพศหญิง และมักเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ขวบ
                                               
        กลุ่มอาการพาทัวซินโดม ( Patau syndrome)
           อาการนี้เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้เด็กมีอาการปัญญาอ่อน อวัยวะภายในพิการ และมักเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด หรือหากมีชีวิตรอดก็จะมีอายุสั้นมาก
                          
          2. ความผิดปกติของรูปร่างออโตโซม 

          เป็นความผิดปกติที่ออโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน แต่มีจำนวนโครโมโซม 46 แท่ง เท่ากับคนปกติ ประกอบด้วย

        กลุ่มอาการคริดูชาต์ หรือ แคทครายซินโดรม (cri-du-chat or cat cry syndrome) 

          เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไปบางส่วน ทำให้ผู้ป่วยมีศีรษะเล็กกว่าปกติ เกิดภาวะปัญญาอ่อน หน้ากลม ใบหูต่ำ ตาห่าง หางตาชี้ นิ้วมือสั้น เจริญเติบโตได้ช้า เวลาร้องจะมีเสียงเหมือนแมว จึงเป็นที่มาของชื่อโรคนี้ว่า แคทครายซินโดรม (cat cry syndrome)
         
         กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome)
          เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 ทำให้ผู้ป่วยมีรูปร่างอ้วนมาก มือเท้าเล็ก กินจุ มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น พูดช้า รวมทั้งเป็นออทิสติกด้วย